ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 5

Post-Teaching Report 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
September 18,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


             อาจารย์แจกกระดาษสีชมพู 1 แผ่นตัดแบ่งครึ่ง 4 คน จากนั้นพับครึ่งกระดาษวาดรูปอะไรก็ได้ให้ด้านหน้าและด้านหลังสัมพันธ์กัน




วิธีทำ
         1.  พับกระดาษเป็น 4 ส่วน เท่าๆกันพร้อมตัด
         2.  พับครึ่งกระดาษ
         3.  วาดรูปภาพทั้ง 2 ด้าน โดยรูปที่วาดต้องสัมพันธ์กัน
         4.  ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
         5.  นำไม้เสียบลูกชิ้นวางทาบด้านใน ทากาวหรือติดกาวสองหน้า เพื่อให้ไม้ติดกับกระดาษ


บทความ


นางสาวแสงระวี   ทรงไตรย์
        บทความ : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย cick
นางสาวศุภาวรรณ   ประกอบกิจ
        บทความ : โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556 cick
นางสาวศิราลักษณ์   คาวินวิทย์
        บทความ : บ้านฉันเป็นค่าบวิทยาศาสตร์  cick

ความลับของแสง   (The Secret of Light )
         เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะแสงเป็นคลื่นชนิดดหนึ่ง เหมือนคลื่นน้ำในทะเล แต่จะเคลื่อนที่ความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เร็วเท่าแสง เราจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ/วินาที แสงช่วยให้เรามองเห็นได้ ดังการทดลองนี้
         นำกล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด เจาะรูข้างกล่อง นำของวัตถุมาใส่ในกล่อง (ตุ๊กตาช้าง) แล้วปิดฝากล่อง แล้วมองไปในรูที่ปิดไว้ จะมองไม่เห็นอะไรเลยเพราะภายในกล่องมึดสนิท หลังจากนั้นเปิดฝากล่อง แล้วลองดูใหม่ เราสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ จากนั้นเจาะรูอีก 1 รู นำไฟฉายส่องตรงรูที่เจาะใหม่ เราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้เพราะมีแสงส่องเข้ามาโดนวัตถุ
          สาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุได้นั้น นอกจากแสงส่องกระทบกับวัตถุแล้ว ยังมีแสงที่สะท้อนวัตถุเข้าสู่ตา เราจึงมองเห็นวัตถุได้ ดังนั้น ตาของเราคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั้นเอง
          ลักษณะการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกที่แสงตกกระทบมี 3 แบบ คือ
  1. วัตถุโปร่งแสง
  2. วัตถุโปร่งใส
  3. วัตถุทึบแสง                                                    
การนำไปประยุกต์ใช้
           นำความรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่องของแสง การประดิษฐ์สื่อภาพหมุนมาดัดแปลงในการสอน การมอบความรู้ประสบการณ์ต่างๆให้กับเด็ก พัฒนาทั้งด้านความรู้ ความคิดและเหตุผลให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเด็กมากที่สุด

วิธีการสอน
           การใช้คำถามปลายเปิด ถาม-ตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดและวิเคราะห์การหาคำตอบในคำถามนั้นๆ เด้กก็จะจำและมีความรู้เพิ่มมากขึ้น


การประเมินหลังเรียน
            ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา (Punctuality) การเรียนในห้องเรียน (Classroom) ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา (Content) และบรรทึกเนื้อหา (Save content) ที่สำคัญลงในสมุด

           เพื่อน  ตั้งใจเรียนและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion) ซึ่งกันและกันภายในห้องเรียน
           
           อาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อธิบายขยายความจากบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา





1 ความคิดเห็น: