ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 10

Post-Teaching Report 10
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
October 18,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


หมายเหตุ   การเรียนการสอนในวันนี้ 18 ตุลาคม เพื่อชดเชย วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม 
เนื่องจากเป็นวันปิยมหาราช


ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การเขียนแผนในแต่ละวันควรมีลำดับขั้นตอนอย่างไร ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป และอาจารย์ช่วยเสนอแนะพร้อมยกตัวอย่างประกอบ โดยดูเนื้อหาจาก Mind Map เรื่องที่เราจะสอน 



 
การนำไปประยุกต์ใช้
           การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู เพราะครูต้องเขียนแผนก่อนเพื่อนำไปสอนศิษย์ เพื่อเด็กจะรู้ว่าจะต้องเรียนอะไรและครูจะสอนเด็กในเรื่องอะไรเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของทั้งสองฝ่าย เราสามารถนำความรู้เรื่องของการเขียนแผนนำมาใช้ในการเรียนและสามารถนำหลักความรู้นี้ไปปรับใช้ในการเขียนแผนของเราในอนาคตได้ เพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์

วิธีการสอน
           การสอนแบบแสดงความคิดเห็น การอภิปราย ยกตัวอย่างประกอบเนื้อหา ยกตัวอย่างเจาะจงในแต่ละหัวข้อเรื่องเพื่อให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น เสนอแนะเนื้อหาหรือความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เด็กจุดประกายความคิดและนำมาต่อยอดความรู้

การประเมินหลังเรียน
            ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย  มีความพร้อมในการเรียนมีการเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนมาเรียน  จดบันทึกความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้

           เพื่อน  ตั้งใจเรียน จดบันทึกความรู้เนื้อหาสำคัญที่อาจารย์สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
           
           อาจารย์  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เสนอแนะความรู้ให้เด็กนำมาแก้ไข ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

คำศัพท์
  1.  ชนิด  (Species)
  2.  คุณลักษณะ  (Attribute)
  3.  การอนุรักษ์  (Conservation)
  4.  ประโยชน์  (Benefit)
  5.  ข้อควรระวัง  (Caution)
 


วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 9

Post-Teaching Report 9
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
October 2,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.



                    การเรียนการสอนในวันนี้  อาจารย์ให้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

สิ่งประดิษฐ์   นักดำน้ำ


อุปกรณ์ 
  1. ขวดน้ำ
  2. หลอด
  3. ดำน้ำมัน
  4. กรรไกร
  5. เทปกาว

    วิธีทำ
     
    ตกแต่งขวดน้ำให้สวยงาม


    นักดำน้ำ
    1. ตัดหลอดยาวประมาณ 3 นิ้ว
    2. พับโดยไม่ต้องแบ่งครึ่ง  ติดเทผกาว  ตัดปลายยาวเป็น 2 แฉก พับปลายยาว 1 แฉก
    3. ถ่วงด้วยดินน้ำมัน(เพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริมน้ำ เอาหลอดใส่ขวดน้ำและปิดฝาให้แน่น
    4. ค่อยๆบีบและค่อยๆปล่อยสังเกตหลอดที่อยู่ในขวด
    สรุปผลการทดลอง
                มีอากาศอยู่ในส่วนที่งอของหลอด  เมื่อออกแรงบีบขวดความดันของอากาศในขวดจะเพิ่มขึ้น  ทำให้อากาศในขวดถูกบีบน้ำจึงเข้าไปแทนที่อากาศในหลอด  ทำให้หลอดมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจนจมลง  เมื่อเราคลายแรงบีบขวดความดันของอากาศในขวดจะลดลง  ทำให้อากาศในหลอดขยายตัวออกมาแทนที่น้ำ  ทำให้หลอดมีน้ำหนักลดลงจึงลอยได้อีกครั้ง

    ผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ




    การนำไปประยุกต์ใช้
               ผลงานจากสิ่งประดิษฐ์ส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์  การนำของเล่น  สื่อ  วิธีการเล่นของเพื่อนมาปรับใช้ในการเรียนการสอนของเราได้  ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เราอาจไม่เคยคิดหรือสังเกต  เรียนรู้ในเรื่องของแรง  ความดัน  อากาศ  แสง  สี  ฯลฯ  นำความรู้แปลกใหม่เหล่านี้มาเพิ่มเติมความรู้ของตัวเอง

    วิธีการสอน
               การให้เราได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  จากการประดิษฐ์สื่อของเล่นและนำมาเสนอหน้าห้องเป็นการที่เราได้คิดค้น  ค้นหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง  ผ่านกระบวนการคิดและอธิบายให้เพื่อนและอาจารย์ฟัง  หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะเสนอแนะความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นจากเดิม  นอกจากจะได้ความรู้ของเราเพียงอย่างเดียวแล้วยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนในห้องอีก 40 กว่าอย่างที่น่าสนใจ

    การประเมินหลังเรียน
                ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบมหาวิทยาลัย  มีความพร้อมในการเรียน  นำสื่อที่ประดิษฐ์มานำเสนออย่างสมบูรณ์

               เพื่อน  ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงานการประดิษฐ์  และมีการประดิษฐ์สื่อที่หลากหลาย
               
               อาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา  มีข้อเสนอแนะเพิ่มความรู้ใหม่ๆให้กับเด็ก  ย้ำทบทวนเนื้อหาเพื่อให้เด็กจำได้

    คำศัพท์
    1. สิ่งประดิษฐ์  (artifact)
    2. นักดำน้ำ  (Diver)
    3. แรงดัน  (Pressure)
    4. อากาศ  (Weather)
    5. แสง  (Light)
     

    Post-Teaching Report 8

    Post-Teaching Report 8
    Science Experiences Management for Early Childhood
    Miss Jintana Suksamran
    October 9,2014
    Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  หยุดสอบกลางภาค 6-12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    หมายเหตุ   กลับบ้านเพื่อนำสื่อไปลองเล่นกับเด็ก





    วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    Post-Teaching Report 7

    Post-Teaching Report 7
    Science Experiences Management for Early Childhood
    Miss Jintana Suksamran
    October 2,2014
    Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


    สิ่งประดิษฐ์   



    วิธีทำ
    1. ตัดกระดาษ 8 ส่วนเท่าๆกัน
    2. ตัดครึ่งแกนทิชชู
    3. นำแกนทิชชูมาวางทาบกับกระดาษ 
    4. วาดรูปตกแต่งด้านในวงกลม
    5. ตัดกระดาษวงกลมตามรอยทาบ
    6. ตัดไหมพรหมยาว 1 ศอก
    7. เจาะกระดาษทั้ง 2 ข้าง นำเชือกร้อยเข้าแล้วผูกติดกัน
    8. นำกระดาษแผ่นวงกลมที่ตกแต่งไว้มาติดกันแกนทิชชู

    บทความ




    นางสาวดาริกา แก้วผัด
              บทความ : สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ด และ ไก่ cick
    นางสาวกานดา ไชยพันนา
              บทความ : จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ
    นางสาวกาญจนา ธนารัตน์
              บทความ : การส่งเสริมกระบวนการคิด cick
    นางสาวจารุวรรณ ปัตตัง
              บทความ : สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ cick
    นางสาวนันทวดี นาสารีย์
              บทความ : สอนลูกเรื่องอากาศ cick




    การนำไปประยุกต์ใช้
               การนำวิธีการประดิษฐ์สิ่งของจากแกนทิชชู มาสอนเด็กปฐมวัยให้เด็กได้ทำของเล่นเอง เด็กก็จะเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เล่นของเล่นจากสิ่งที่เราทำเอง และสอนให้เด็กได้นำสิ่งของที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นใหม่ 

    วิธีการสอน
                สอนเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอบทความ การเลือกเรื่องที่จะมานำเสนอ การลงมือประดิษฐ์สิ่งของด้วยตนเอง และอภิปรายแนะนำการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

    การประเมินหลังเรียน
                ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจประดิษฐ์ผลงานที่อาจารย์สอน และบรรทึกเนื้อหาที่สำคัญลงในสมุด

               เพื่อน  ตั้งใจเรียน ตั้งใจประดิษฐ์ผลงานอย่างสวยงามและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน
               
               อาจารย์  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมอุปกรณ์การประดิษฐ์มาให้นักศึกษาทำ อภิปรายความรู้ให้กับเด็ก

    คำศัพท์
    1. การเล่านิทาน  (Storytelling)
    2. การบูรณาการ  (Integrating)
    3. การจัดกิจกรรม  (Activities)
    4. ธรรมชาติ  (Nature)
    5. วัสดุเหลือใช้  (Wastes) 

    Post-Teaching Report 6

    Post-Teaching Report 6
    Science Experiences Management for Early Childhood
    Miss Jintana Suksamran
    September 25,2014
    Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


    สิ่งประดิษฐ์    กังหันกระดาษ



    วิธีทำ
    1. ตัดกระดาษ 8 ส่วนเท่าๆกัน
    2. พับครึ่งกระดาษ
    3. ตัดกระดาษตรงกลางจากปลายเข้าสู่ด้านในจนถึงครึ่ง
    4. พับชายกระดาษฝั่งตรงข้าม แล้วนำคลิปหนีบ
             หลังจากการประดิษฐ์กังหันกระดาษ  เพื่อนๆแต่ละแถวออกมาทดลองโยนกังหันของตนเอง  แถว 1,2 กังหันจะหมุนลงสู่พื้นช้า  แถวที่ 3,4 กังหันจะตกลงสู่พื้นเร็วกว่า  เพราะว่าการพับและตัดกระดาษกึ่งกลางความยาวไม่เท่ากัน  การหมุนของใบพัดก็จะไม่เท่ากัน  (ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อถูกโยนขึ้นด้านบนจะตกลงสู่พื้น เกิดจากแรงโน้มถ่วง)  เมื่อเราตัดกระดาษ (ปีก)  เยอะแรงต้านทาน  ก็จะมากขึ้นจึงทำให้ใบพัดหมุนและตกลงสู่พื้นช้า
              จากนั้นส่ง Mind Map กลุ่ม หน่วยต่างๆ ที่จะนำไปทำแผนการจัดประสบการณ์ เช่น เรื่องน้ำ เรื่องต้นไม้ เรื่องข้าว เรื่องปลา เรื่องผลไม้ เรื่องกล้วย เรื่องนม เป็นต้น จากนั้นอาจารย์ได้อภิปรายและให้คำแนะนำนักศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อนนำไปปรับเนื้อหา หัวข้อและลำดับขั้นตอนของหน่วยที่เราเลือกเพื่อจะเขียนแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น





    บทความ

    นางสาวพัชราภา   บุญเพิ่ม
              บทความ : แสงสีกับชีวิตประจำวัน  cick
    นางสาวรัชดาภรณ์   นันบุญมา
              บทความ : เงามหัศจรรย์ต่อสมอง  cick
    นางสาวฐิติมา   บำรุงกิจ
              บทความ : สอนลูกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  cick
    นางสาวเนตรยา   เนื่องน้อย
              บทความ : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  cick
    นางสาวจิตราภรณ์   นาคแย้ม
              บทความ : การทดลองทางวิทยาศาสตร์  cick

    การนำไปประยุกต์ใช้
               นำความรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์กังหัวกระดาษ มาสอนเด็กปฐมวัย สอนเด็กปฐมวัยประดิษฐ์กังหันจากกระดาษเด็กสามารถประดิษฐ์ได้ เพราะขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน เด็กก็จะเข้าใจเรื่องของแรงต้านทาน แรงโน้มถ่วงมากขึ้น 

    วิธีการสอน
               การใช้คำถามปลายเปิด ถาม-ตอบ สอนเกี่ยวกับวิธีการนำเสนองาน นำเสนอบทความ ให้เด็กได้ปฏิบัติการทดลอง การประดิษฐ์จริง และมีการแสดงความคิดเห็น การอภิปราย

    การประเมินหลังเรียน
                ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา การเรียน การประดิษฐ์สิ่งของในห้องเรียนมีความตั้งใจให้ผลงานออกมาดีที่สุด ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา และบรรทึกเนื้อหาที่สำคัญลงในสมุด

               เพื่อน  ตั้งใจเรียน ตั้งใจประดิษฐ์ผลงานอย่างสวยงามและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันภายในห้องเรียน
               
               อาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  แสดงความคิดเห็น อภิปราย สรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ และได้ลงมือปฏิบัติจริง

    คำศัพท์
    1.  แรงโน้มถ่วง ( The gravity )
    2.  แรงต้านทาน( Resistance )
    3.  การสังเกต ( Observation )
    4.  การทดลอง ( Trials )
    5.  การประดิษฐ์ ( Invention )