ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 6

Post-Teaching Report 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
September 25,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.


สิ่งประดิษฐ์    กังหันกระดาษ



วิธีทำ
  1. ตัดกระดาษ 8 ส่วนเท่าๆกัน
  2. พับครึ่งกระดาษ
  3. ตัดกระดาษตรงกลางจากปลายเข้าสู่ด้านในจนถึงครึ่ง
  4. พับชายกระดาษฝั่งตรงข้าม แล้วนำคลิปหนีบ
         หลังจากการประดิษฐ์กังหันกระดาษ  เพื่อนๆแต่ละแถวออกมาทดลองโยนกังหันของตนเอง  แถว 1,2 กังหันจะหมุนลงสู่พื้นช้า  แถวที่ 3,4 กังหันจะตกลงสู่พื้นเร็วกว่า  เพราะว่าการพับและตัดกระดาษกึ่งกลางความยาวไม่เท่ากัน  การหมุนของใบพัดก็จะไม่เท่ากัน  (ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อถูกโยนขึ้นด้านบนจะตกลงสู่พื้น เกิดจากแรงโน้มถ่วง)  เมื่อเราตัดกระดาษ (ปีก)  เยอะแรงต้านทาน  ก็จะมากขึ้นจึงทำให้ใบพัดหมุนและตกลงสู่พื้นช้า
          จากนั้นส่ง Mind Map กลุ่ม หน่วยต่างๆ ที่จะนำไปทำแผนการจัดประสบการณ์ เช่น เรื่องน้ำ เรื่องต้นไม้ เรื่องข้าว เรื่องปลา เรื่องผลไม้ เรื่องกล้วย เรื่องนม เป็นต้น จากนั้นอาจารย์ได้อภิปรายและให้คำแนะนำนักศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อนนำไปปรับเนื้อหา หัวข้อและลำดับขั้นตอนของหน่วยที่เราเลือกเพื่อจะเขียนแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น





บทความ

นางสาวพัชราภา   บุญเพิ่ม
          บทความ : แสงสีกับชีวิตประจำวัน  cick
นางสาวรัชดาภรณ์   นันบุญมา
          บทความ : เงามหัศจรรย์ต่อสมอง  cick
นางสาวฐิติมา   บำรุงกิจ
          บทความ : สอนลูกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  cick
นางสาวเนตรยา   เนื่องน้อย
          บทความ : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  cick
นางสาวจิตราภรณ์   นาคแย้ม
          บทความ : การทดลองทางวิทยาศาสตร์  cick

การนำไปประยุกต์ใช้
           นำความรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์กังหัวกระดาษ มาสอนเด็กปฐมวัย สอนเด็กปฐมวัยประดิษฐ์กังหันจากกระดาษเด็กสามารถประดิษฐ์ได้ เพราะขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน เด็กก็จะเข้าใจเรื่องของแรงต้านทาน แรงโน้มถ่วงมากขึ้น 

วิธีการสอน
           การใช้คำถามปลายเปิด ถาม-ตอบ สอนเกี่ยวกับวิธีการนำเสนองาน นำเสนอบทความ ให้เด็กได้ปฏิบัติการทดลอง การประดิษฐ์จริง และมีการแสดงความคิดเห็น การอภิปราย

การประเมินหลังเรียน
            ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา การเรียน การประดิษฐ์สิ่งของในห้องเรียนมีความตั้งใจให้ผลงานออกมาดีที่สุด ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา และบรรทึกเนื้อหาที่สำคัญลงในสมุด

           เพื่อน  ตั้งใจเรียน ตั้งใจประดิษฐ์ผลงานอย่างสวยงามและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันภายในห้องเรียน
           
           อาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  แสดงความคิดเห็น อภิปราย สรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ และได้ลงมือปฏิบัติจริง

คำศัพท์
  1.  แรงโน้มถ่วง ( The gravity )
  2.  แรงต้านทาน( Resistance )
  3.  การสังเกต ( Observation )
  4.  การทดลอง ( Trials )
  5.  การประดิษฐ์ ( Invention )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น