ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 12


Post-Teaching Report 12
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
November 6,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.
 

ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน  โดยให้ตัวแทนออกมานำเสนอกลุ่มละ  1  วัน  จำนวน  10  กลุ่ม  ดังนี้



กลุ่มที่  1  เรื่องกล้วย  ( Banana ) 
         กลุ่มแรกจะสอนเรื่องชนิดของกล้วย  ขั้นนำเป็นการเข้าเรื่องด้วยการร้องเพลงกล้วยพร้อมมีภาพให้เด็กดูกล้วยแต่ละชนิดพร้อมให้เด็กบอกชื่อกล้วยที่ครูยกรูปขึ้นมา  โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่าอาจจะใช้รูปภาพที่น่าสนใจกว่านี้ด้วยการทำรูปภาพที่เปิด - ปิดได้ เพื่อให้เด้กเกิดความสนใจและตื่นเต้น



กลุ่มที่  2  เรื่องไก่  ( Chicken )
         กลุ่มนี้จะเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของไก่แจ้และไก่ต๊อก โดยการเขียนเปรียบเทียบความเหมือนต่างเป็นรูปวงกลม 2 รูป  และมีภาพไก่พร้อมเขียนโยงส่วนประกอบของไก่ให้เด็กดู  อาจารย์ให้คำแนะนำว่าให้ทำเป็นตารางบอกชนิด  บอกลักษณะหงอน  ขา  ปีก  ของไก่  เป็นต้น  หรืออาจจะทำเป็นจิ๊กซอให้เด็กต่อ



กลุ่มที่  3  เรื่องกบ  ( Frog )
         กลุ่มนี้ขึ้นต้นด้วยการเปิด  VDO  เรื่องวงจรชีวิตกบให้เด็กดู  อาจารย์ให้คำแนะนำว่าหลังจากดู  VDO  จบ  ครูสามารถเขียนวงจรชีวิตของกบให้เด็กดูได้  หรืออาจจะใช้คำถามกับเด็ก เช่น กบจำศีลในช่วงไหน?  ทำไมกบถึงจำศีลในช่วงนี้?  กบจำศีลที่ไหน?  กบอยู่ได้อย่างไร  กินอะไรที่ไหน?  





 

กลุ่มที่  4  เรื่องปลา  ( Fish )
         กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึ่งระวังของปลา  เพื่อนเล่านิทานเรื่องสัตว์น้ำกับชาวประมง  พอเล่านิทานจบจะมีตารางประโยชน์และข้อพึ่งระวังมาให้  แล้วให้เด็กช่วยกันบอกประโยชน์และข้อพึงระวังจากนั้นเพื่อนจะนำคำตอบนั้นมาใส่ให้ถูกช่อง  อาจารย์ได้แนะนำว่าจากการเล่านิทานเราอาจมีภาพมาให้เด็กดูประกอบ  เช่น  ปลานิล  ปลาปักเป้า  เพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นภาพากขึ้น



กลุ่มที่  5  เรื่องข้าว  ( Rice )
         กลุ่มนี้สอนเรื่องการประกอบอาหารโดยใช้ข้าวเป็นส่วนประกอบ  เพื่อนทำข้าวคลุกไข่  โดยออกมาสาธิตการทำข้าวคลุกไข่  อาจารย์แนะนำให้ขออาสาสมัครเด็กหนึ่งคนมาสาธิตการทำข้าวคลุกไข่  และให้เด็กคนอื่นๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง  และให้ถามเด็กว่าเห็นอุปกรณ์อะไรบ้าง  แล้วให้เด็กตอบ ( ไม่จำเป็นต้องนำด้วยเพลง )
 

กลุ่มที่  6  เรื่องต้นไม้  ( Tree )
         กลุ่มนี้เป็นวันแรกของสัปดาห์ที่สอง  เพื่อนสอนเรื่องต้นไม้โดยนำเข้าการสอนด้วยคำคล้องจองพร้อมมีภาพประกอบ  และให้เด็กออกมานับว่าต้นไม้พุ่มและไม้ยืนต้นว่ามีอย่างละกี่ต้นพร้อมวาดภาพต้นไม้ตามจำนวนที่เด็กนับได้  อาจารย์แนะนำให้เด็กจับกลุ่มของต้นไม้ทั้ง  2  กลุ่ม  และออกมานับต้นไม้ทั้ง  2  ชนิด  ทีละต้น  กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า  กลุ่มไหนหมดทีหลังแสดงว่ามีมากกว่า  เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพมากขึ้น  



กลุ่มที่  7  เรื่องนม  ( Milk )
         กลุ่มนี้เสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติของนม  เพื่อนนำเข้าบทเรียนด้วยการร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ  และเข้าขั้นสอนด้วยการทดลองนำสีใส่ในนมสีจะผสมรวมอยู่ากับนม  แล้วจากนั้นลองใส่น้ำยาล้างจานลงไป พบว่า สีจะแยกส่วนกับนม  อาจารย์แนะนำว่านอกจากการทดลองนี้ยังมี นมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ  นมเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ โดยปริมาณน้ำเท่ากัน 



กลุ่มที่  8  เรื่องน้ำ  ( Water )
         กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของดิฉันเองกลุ่มของเรานำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ  โดยนำเข้าบทเรียนด้วยเพลง  อย่าทิ้ง  เข้าขั้นสอนด้วยการเล่านิทานเรื่อง"หนูนิด"  โดยเนื้อเรื่องจะสอดแทรกเนื้อเรื่องให้เด็กรู้ถึงสาเหตุที่เกิดน้ำเน่าเสียและให้เด็กช่วยกันอนุรักษ์น้ำ  ช่วยกันคิดหาวิธีการอนุรักษ์น้ำ  โดยให้เด็กยกมือตอบ  และให้เด็กช่วยกันออกแบบป้ายเขียนเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ  อาจารย์แนะนำว่าให้มีรูปภาพประกอบเพื่อให้เด็กได้เห็นภาพมากขึ้น  จากนั้นอาจารย์ยัช่วยแต่งเพลง  อย่าทิ้ง  ในฉบับของการอนุรักษ์น้ำ  เนื้อเพลงมีดังนี้

อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง                  แม่น้ำจะสกปรก
                   ถ้าเราเห็นใครทิ้ง                                  ต้องเตือน  ต้องเตือน  ต้องเตือน


กลุ่มที่  9  เรื่องมะพร้าว  ( Coconut )
       กลุ่มนี้เข้าสู่บทเรียนด้วยเพลงและนิทาน  จากนั้นสอนเกี่ยวกับวิธีการปลูกมะพร้าว  โดยมีภาพการปลูกมะพร้าวให้เด็กดูเป็นลำดับขั้นตอน  พร้อมอธิบายประกอบพร้อม  อาจารย์แนะนำว่าควรสอนเด็กในเรื่องที่ใกล้ตัวเพื่อให้เด้กเข้าใจมากยิ่งขึ้นหรือไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์มาให้เด็กลองทำ



กลุ่มที่  10  เรื่องผลไม้  ( Fruit )
       กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับการประกอบอาหาร  เข้าสู่บทเรียนด้วยเพลง ตรงไหมจ๊ะ  เพื่อนบอกอุปกรณ์ต่างๆ ให้เด็กสังเกตการละลายของเนย  อาจารย์แนะนำว่าก่อนทำอาหารครูควนให้เด็กตั้งสมมติฐานก่อน  และให้ครูถามเด็กๆว่าเห็นอุปกรณ์การทำสลัดผลไม้ว่ามีออะไรบ้าง และเด็กๆเห็นผลไม้อะไรบ้าง





การนำไปประยุกต์ใช้
      
           การเขียนแผนการสอนเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบวิชาชีพครู  เพราะก่อนที่ครูจะสอนจะต้องมีการวางแผนการเขียนแผนการสอนก่อนเสมอ  ฉะนั้นในขณะที่เรายังศึกษาเล่าเรียนอยู่นี้เราควรเก็บเกี่ยวความรู้ให้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าของการเป็นครูที่ดีได้  เมื่อเราเข้าใจวิธีการเขียนแผนแล้วฉันเชื่อว่าการเขียนแผนจะไม่ใช่เรื่องยากเลย  เพราะฉะนั้นในขณะนี้เราต้องมุ่งมั่นและตั้งใจเรียนเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด

วิธีการสอน
          
            อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอแผนการสอนของกลุ่มตัวเอง  ว่าแต่ละวันเราสอนเรื่องอะไรบ้าง  โดยอาจารย์จะคอยแนะนำและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหรือเสนอแนะให้แผนการสอนเราดียิ่งขึ้น  โดยที่อาจารย์ไม่ได้นั่งสอนแต่อาจารย์ลุกมาแนะนำและสาธิตการสอนในบางช่วงเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจพร้อมแสดงหรือยกตัวอย่างประกอบ

การประเมินหลังเรียน
           
          ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอแผนการสอน  พร้อมจำบันทึกคำแนะนำที่อาจารย์ได้ให้เพิ่มเติมจากเพื่อนที่ออกมานำเสนอทุกกลุ่ม  เพื่อจะนำมาดัดแปลงใช้ในการสอนของตนเองในอนาคต

           เพื่อน  ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการเสนอแผนการสอน  มีการจดบันทึกคำแนะนำข้อเสนอแนะของอาจารย์
           
           อาจารย์  อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์คอยแนะนำและเสนอแนะข้อที่ต้องเพิ่มเติมในแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม  มีการสาธิตและยกตัวอย่างให้ดู  และเขียนกระดานเพื่อให้นักศึกษาเข้าใขยิ่งขึ้น

คำศัพท์
  1. กล้วย  ( Banana ) 
  2. ไก่  ( Chicken ) 
  3. กบ  ( Frog )
  4. ปลา  ( Fish ) 
  5. ข้าว  ( Rice )
  6. ต้นไม้  ( Tree )
  7. นม  ( Milk )
  8. น้ำ  ( Water )
  9. มะพร้าว  ( Coconut )
  10. ผลไม้  ( Fruit )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น