ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 11

Post-Teaching Report 11
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss Jintana Suksamran
October 30,2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 - 12.30 PM.




ความรู้ที่ได้รับ
           
         อาจารย์เกิ่นนำเกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ประสบการณ์สำคัญในการที่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้  เพราะเด็กได้ลงมือกระทำและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม  กระบวนการทดลอง  คือ  กำหนดปัญหา  ตั้งสมมติฐานและการทดลอง  ทักษะทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การจำแนกประเภท  การวัด  การหาความสัมพันธ์  การลงความเห็นจากข้อมูล  การจัดการกระทำ  การพยากรณ์  และการคำนวณ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่การทดลอง  ดังนี้

การทดลอง
 
         แถวที่ 1-2 ปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลมๆ  เมื่อนำดินน้ำมันใส่ลงในโหลที่ใส่น้ำ  พบว่าดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ  เพราะว่าดินน้ำมันมีความหนักจึงไม่สามารถลอยน้ำได้



การทดลอง 

         แถวที่ 3-4 หาวิธีปั้นอย่างไรก็ได้ที่จะไม่ให้ดินน้ำมันจมลงไปในใน้ำ  โดยเราปั้นดินน้ำมันคล้ายกับอ่างน้ำที่มีความบางและไม่หนาเกินไป  เมื่อนำไปใส่ในโหล  พบว่าดินน้ำมันลอยน้ำ  เพราะมีความบางและไม่หนาแบบรูปทรงวงกลม  แต่บางคนก็ปั้นดินมันเป็นรูปอ่างน้ำและจมสาเหตุเพราะว่าวิธีการปั้นดินน้ำมันหนาเกินไปจึงทำให้ดินน้ำมันมีความหนักและจมน้ำในที่สุด 



การทดลอง

        ตัดกระดาษ A4 เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  จากนั้นพับกระดาษ 2 ทบ  ตัดเป็นรูปดอกไม้พร้อมตกแต่งให้สวยงามและพับกลีบดอกไม้ให้มีลักษณะตูม  เมื่อนำดอกไม้มาใส่ในโหลที่ใส่น้ำกลีบดอกไม้ก็จะค่อยๆบาน  ซึ่งเกิดจากการดูดซึมน้ำถ้าใช้กระดาษร้อยปอนด์น้ำจะซึมช้า  แต่ถ้าใช้กระดาษ A4 น้ำจะซึมเร็ว  ดอกไม้ที่ทำจากกระดาษ A4 จึงบานเร็วกว่าและกระดาษ A4 จะจมลงน้ำเร็วกว่ากระดาษร้อยปอนด์
ดอกไม้ที่ระบายด้วยสีเคมีหรือสีเมจิกสีของดอกไม้นั้นก็จะเกิดการละลายเมื่อสัมผัสกับน้ำจึงทำให้น้ำในโหลเปลี่ยนสี 



การทดลอง 

        เจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รู  เจาะตามแนวตั้งของขวด  ปิดเทปไว้ที่รูทุกรู  แล้วใส่น้ำลงไปเกือบเต็มขวด
  1. ทดลองเปิดเทปรูที่ 1 ด้านบนสุด  พบว่าน้ำไหลออกมาค่อยๆ
  2. ทดลองเปิดเทปรูที่ 2 ตรงกลาง  พบว่าน้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1
  3. ทดลองเปิดเทปรูที่ 3 ด้านล่าง  พบว่าน้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 และรูที่ 2                          
สรุป

       น้ำประกอบด้วยโมเลกุลจำนวนมากซึ่งมีน้ำหนัก  ยิ่งมีโมเลกุลซ้อนทับกันมาก  น้ำหนักก็กดลงด้านล่างมาก  ความดันน้ำเพิ่มขึ้น  เมื่อความลึกมากขึ้นทำให้น้ำที่ไหลออกจากรูด้านล่างแรงกว่ารูด้านบน



 การทดลอง

         เจาะรู 1 รู ที่ขวดน้ำ  ต่อสายยางและให้ปลายสายยางมีภาชนะรองรับน้ำ ผลการทดลองพบว่าถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าภาชนะที่รองรับน้ำ  น้ำจะไหลจากขวดน้ำลงสู้ภาชนะรองรับน้ำ  แต่ถ้าขวดน้ำอยู่ต่ำกว่าภาชนะที่รองรับน้ำน้ำก็จะไม่ไหล

สรุป

         น้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ



การทดลอง

        จุดเทียน  จากนั้นนำแก้วมาคอบ  พบว่าไฟที่เทียนดับ  สาเหตุเพราะควันของเทียนไม่มีอากาศถ่ายเท  ภายในแก้วไม่มีอากาศถ่ายเทเทียนจึงดับ


การทดลอง

        ใส่น้ำลงในแก้ว  จากนั้นนำปากกาหรือดินสอใส่ลงไปในแก้ว  พบว่าเรามองเห็นดินสอที่อยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่อยู่เหนือน้ำ

สรุป

        เกิดจากการหักเหของแสง  ทำให้เห็นวัตถุที่อยู่ใต้น้ำมีขนาดใหญ่กว่าของจริง  




การนำไปประยุกต์ใช้
           การเรียนรู้เกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยอีกอย่างหนึ่ง  เราจึงควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองหรือลงมือกระทำ  ในใอนาคตข้างหน้าเราจึงไม่ควรขีดขวางความรู้ของเด็กเราจึงควรส่งเสริมความรู้ให้กับเด็กให้เด็กได้ทดลองหรือลองทำในสิ่งที่เด็กอยากรู้และสงสัยโดยมรครูเป็นผู้อยากแนะนำและคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด  เราสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปปรับสอนและใช้กับเด็กปฐมวัยได้  การนำความรู้ เทคนิคของการทดลองวิทยาศาสตร์มาสอนเด้กเพื่อให้เด็กได้รู้และเข้าใจในเรื่องรอบๆตัวมากยิ่งขึ้น

วิธีการสอน
          
            อาจารย์อะฺบายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่เราจะเรียนก่อน  จากนั้นมีการทดลองเพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงและได้เห็นภาพมากขึ้นกว่าการจดบันทึกเนื้อหา  โดยอาจารย์มีอุปกรณ์การทดลองมาให้นักศึกษาอย่างครบครัน  และให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติหรือทดลองกันทุกคนและเมื่อทดลองเห็นผลและอาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิด  เพื่อให้นักศึกษาได้คิดถึงเห็นผลของการทดลองนั้นๆ  จะช่วยทำให้นักศึกษาเข้าใจและจดจำการทดลองในวันนี้เป็นอย่างดี

การประเมินหลังเรียน
           
          ตนเอง  การเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียนและตั้งใจทดลองกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์สอน  ได้ลงมือปฏิบัติจริงจากทุกๆกิจกรรมและจดบันทึกเนื้อหาความรู้ต่างๆที่ได้เรียนในวันนี้ลงในสมุด

           เพื่อน  ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำการทดลองกันอย่าเต็มที่และสนุกสนาน ตื่นเต้นกับการทดลอง
           
           อาจารย์  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีความเตรียมความพร้อมในการที่จะสอน  มีการเตรียมอุปกรณ์การทดลองมาให้ลูกศิษย์อย่างครบครันและครบทุกคน  ทำให้นักศึกษาได้ลงมือทดลองกันทุกคนและเข้าในในเรื่องของการทดลองวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

คำศัพท์
  1.  ดำน้ำมัน  (Clay)
  2.  ขวดโหล  (Canister)
  3.  สมมติฐาน  (Hypothesis)
  4.  การทดลอง  (Trial)
  5.  การพยากรณ์  (Forecast)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น