ผลของการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกโดยรวมและรายด้าน
ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้
ทำให้ทราบถึงรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู
ผู้ปกครองตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้เห็นความสำคัญ และเข้าใจถึงการบันทึกของเด็ก
สามารถนำไปส่งเสริมให้แก่เด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆต่อไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัย
ชาย – หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย อ.หัวหิน
จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มจากจำนวน
5 ห้องเรียน มา 1 ห้องเรียน
แล้วทำการทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
คัดเลือกเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปรที่ศึกษา
1.
ตัวแปรอิสระ ได้แก่
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก
2.
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ จำแนกเป็น 4 ด้าน
1.
ด้านความสัมพันธ์ลักษณะของวัตถุ
2.
ด้านความสัมพันธ์ตำแหน่งของวัตถุ
3.
ด้านลักษณะของวัตถุที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนทิศทางการมอง
4.
ด้านการต่อเข้า การแยกออกจากกันของวัตถุ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.
แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก
2.
แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ จำนวน 4 ชุด
ชุดที่ 1 ด้านความสัมพันธ์ลักษณะของวัตถุ จำนวน 10 ข้อ
ชุดที่ 2 ด้านความสัมพันธ์ตำแหน่งของวัตถุ จำนวน 10 ข้อ
ชุดที่
3 ด้านลักษณะของวัตถุที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนทิศทางการมอง จำนวน 10 ข้อ
ชุดที่
4 ด้านการต่อเข้า การแยกออกจากกันของวัตถุ จำนวน 10 ข้อ
การดำเนินการทดลอง
1.
ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างก่อนดำเนินการทดลองเป็นเวลา
1 สัปดาห์
2.
ผู้วิจัยทำการทดลองก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง
โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เป็นเวลา 24 วัน
4.
หลังเสร็จสิ้นการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
5.
นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่
ด้านความสัมพันธ์ลักษณะของวัตถุ ด้านความสัมพันธ์ตำแหน่งของวัตถุ ด้านลักษณะของวัตถุที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนทิศทางการมอง ด้านการต่อเข้า การแยกออกจากกันของวัตถุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น